วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พระจำวันคนเกิดวันศุกร์


ผู้ที่เกิดวันศุกร์
พระประจำวันนี้คือ พระปางลำพึง
ลักษณะพระพุทธรูป:
พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ขวา
ทับพระหัตถ์ซ้าย พระบาททั้งสองประทับยืนชิดติดกัน

ประวัติย่อ
เมื่อตปุสสะและภัลลิกะ ๒พาณิชกราบทูลลาไปแล้วพระพุทธองค์เสด็จกลับจากร่มไม้ราชายตนะไป
ประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ร่มไม้อชลปาลนิโครธอีกครั้งหนึ่ง และทรงรำพึงถึงธรรม ที่พระองค์ได้
ตรัสรู้แล้วนั้นว่าเป็นธรรมประณีตละเอียดสุขุมคัมภีรภาพ ยากที่บุคคลจะรู้ได้ทำให้ท้อแท้พระทัยถึงกับ
ทรงดำริจะไม่แสดงธรรมแก่มหาชน ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบวาระจิตของพระพุทธองค์
จึงร้องประกาศชวนเทพยดาทั้งหลายพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ยังที่ประทับ ฯ ควงไม้อชปาลนิโครธ
ถวายอภิวาทแล้วกราบ ทูลอาราธนาพระพุทธองค์ ขอให้ทรงแสดงธรรมโปรดประชาชน

เพื่อบุคคลผู้มีธุลีในนัยน์ตาน้อยทั้งมีอุปนิสสัยอันจะเป็นพุทธสาวกจะได้ตรัสรู้ธรรมบ้าง พระพุทธองค์
ทรงรำพึงถึงธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อนว่าได้ตรัสรู้แล้วย่อมทรงแสดงธรรม
โปรดประชาชนทั้งหลายประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้แผ่ไพศาลเพื่อประโยชน์สุขแก่ปัจฉิมชนผู้เกิด
มาภายหลัง แล้วจึงเสด็จปรินิพพาน จึงได้น้อมพระทัยไปในอันแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ในโลกแล้ว
พระพุทธองค์ ทรงพิจารณาอีกว่า จะมีผู้รู้ถึงธรรมนั้นบ้างหรือไม่ ก็ทรงทราบถึงอุปนิสัยของบุคคล
ทั้งหลายในโลกนี้ย่อมมีต่างๆ กัน คือ ทั้งประณีต ปานกลางและหยาบ ที่มีนิสัยดีมีกิเลสน้อยเบาบาง
มีบารมีที่ดีสั่งสมอบรมมาแล้ว ซึ่งพอจะตรัสรู้ธรรมตามพระองค์ได้ก็มีอยู่ ผู้มีอินทรีย์ ศรัทธา วิริยะ สติ
สมาธิปัญญากล้าก็มี ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มีเป็นผู้จะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่ายก็มี เป็นผู้จะพึงสอนให้รู้ได้โดย
ยากก็มีเป็นผู้สามารถจะรู้ได้ก็มีเป็นผู้ไม่สามารถจะรู้ได้ก็มี

บุคคลจึงเปรียบเหมือนดอกบัวที่เกิดในน้ำเจริญในน้ำ น้ำเลี้ยงอุปถัมภ์ไว้ บางเหล่ายังจมอยู่ในน้ำ
บางเหล่าอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าขึ้นพ้นน้ำแล้วในดอกบัว๓ เหล่านั้น ดอกบัวที่ขึ้นพ้นน้ำแล้วนั้นคอย
สัมผัสรัศมีพระอาทิตย์อยู่จักบาน ณเช้าวันนี้ ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำจักบาน ณวันพรุ่งนี้ ดอกบัวที่ยัง
ไม่ขึ้นจากน้ำยังอยู่ภายในน้ำ จักบานในวันต่อ ๆไป ดอกบัวที่จะบานมีต่างชนิดฉันใด เวนัยสัตว์
ที่จะตรัสรู้ธรรมก็มีต่างกัน ฉันนั้นเหมือนกัน คือ ผู้มีกิเลสน้อยเบาบาง มีอินทรีย์แก่กล้าเป็นผู้ที่พึงสอน
ให้รู้ได้โดยง่าย และอาจจะรู้ธรรมพิเศษนั้นได้โดยฉับพลัน ผู้มีคุณสมบัติเช่นนั้นเป็นประมาณปานกลาง

เมื่อได้รับอบรมในปฏิปทาอันเป็นบุพพาค จนมีอุปนิสสัยแก่กล้าดังกล่าว แต่ยังอ่อน ก็ยังควรได้รับการ
แนะนำในธรรมเบื้องต่ำต่อไปก่อนเพื่อบำรุงอุปนิสัย เมื่อเป็นเช่นนี้พระธรรมเทศนาของพระองค์คงไม่ไร้
ผล จักยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่คน ทุกหมู่เหล่า เว้นแต่จำพวกปทปรมะ ซึ่งมิใช่เวไนย คือ
ไม่รับการแนะนำ ซึ่งเปรียบด้วยดอกบัวอ่อน อันจะเป็นภักษาหารของปลาและเต่าต่อไป ครั้นพระพุทธ
องค์ทรงพิจารณาด้วยพระปรีชาญาณหยั่งทราบเวไนยสัตว์ผู้จะรับประโยชน์จากพระธรรมเทศนาแล้ว
ก็ทรงอธิษฐานพระหฤทัยในอันจะแสดงธรรมสั่งสอนไวไนยสัตว์ และตั้งพุทธปณิธานจะใคร่ดำรง
พระชนม์อยู่จนกว่าจะได้ประกาศพระพุทธศาสนา ให้แพร่หลายประดิษฐานให้มั่นคงสำเร็จประโยชน์แก่
ชนนิกรทุกหมู่เหล่าต่อไป พระพุทธจริยาที่ทรงรำพึงถึงธรรมที่จะแสดงโปรดชนนิกรผู้เป็นเวไนยบุคคล
นั้นแล เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปที่เรียกว่า ปางรำพึง.
ของทำบุญประจำวันเกิด(ตักบาตรพระ):
อาหารคาว ประเภทของหอม หวาน ข้าวหอมมะลิ ผักกาดหอม ไข่เจียวหอมใหญ่ ยำหัวหอม
อาหารหวาน ขนมหวาน หอมทุกชนิด น้ำเก๊กฮวย ผลไม้ที่มีกลิ่นหอม กล้วยหอม เค้ก
ของถวายพระ นาฬิกา โต๊ะรับแขก ดอกไม้สวยหอม ระฆัง ย่าม
ไหว้พระปางรำพึง (พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 21 (สวดแบบย่อ วา โธ โน อะ มะ มะ วา)
ทำทาน เด็กด้อยโอกาส ให้เงิน ให้เสื้อผ้า อาหารที่หอมหวานชวนกิน เช่น ไอศกรีม
พฤติกรรม ทำตัวให้สดชื่นแจ่มใส บำรุง ดูแลตัวเองให้ดูดีอยู่ตลอด จัดสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ สวยงาม เลิกการฟุ่มเฟือย

บทสวดมนต์ประจำวันเกิด:
อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุ สัมมะเต อะมะนุสเนหิ จัณเฑหิ สะทา กิพพิ สะการิภิ
ปะริสานัญจะ ตัสสันนัง มะหิงสายะ จะ คุตติยา ยันเทเสหิ มะหาวีโร ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
(เป็นคาถาสำหรับผู้ที่เกิดวันศุกร์ใช้สวดภาวนาวันละ ๒๑ จบ จะมีความสุขสำราญเนืองนิตย์ และป้องกันยักษ์ผีปีศาจต่างๆพระพุทธรูปท่านควรมีไว้
ประจำตัวคือ พระพุทธรูปปางรำพึง ไว้สักการะบูชาในบ้านเป็นสิริมงคลดียิ่งแลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น