ความหมาย
เพื่อที่จะให้เข้าใจความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เราคงจะต้องทำความเข้าใจกับคำต่างๆ ที่ประกอบเป็นคำนี้ อันได้แก่ เทคโนโลยี สาร และสนเทศ
เทคโนโลยีมีความหมายถึง การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต่องานปฏิบัติทั้งหลาย เพื่อให้งานนั้นมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
สารสนเทศ อ่านว่า สาระ-สน-เทศสาร หรือ สาระ เป็นคำประกอบหน้าคำ แปลว่า สำคัญ สนเทศ หมายถึง คำสั่ง ข่าวสาร ใบบอก
สารสนเทศ จึงหมายถึงข่าวสารที่สำคัญ เป็นระบบข่าวสารที่กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้นภายในองค์การต่างๆ ตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์การนั้นๆ
สารสนเทศ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Information
สำหรับคำว่า Information นั้น พจนานุกรมเวบสเตอร์ ให้ความหมายไว้ว่า ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศ เป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งในด้านการได้มาและประโยชน์ในการนำไปใช้ปฏิบัติ จึงได้มีการประมวลความหมายของสารสนเทศไว้ใกล้เคียงกัน ดังนี้
สารสนเทศ หมายถึงข้อมูลทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพที่ประมวลจัดหมวดหมู่ เปรียบเทียบ และวิเคราะห์แล้วสามารถนำมาใช้ได้ หรือนำมาประกอบการพิจารณาได้สะดวกกว่าและง่ายกว่า
สารสนเทศ คือข้อมูลที่ได้รับการประมวลให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายต่อผู้รับ และมีทั้งคุณค่าอันแท้จริง หรือที่คาดการณ์ว่าจะมีสำหรับการดำเนินงานหรือการตัดสินใจในปัจจุบันและอนาคต
สารสนเทศ หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบมาคำนวณทางสถิติ หรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำมาใช้งานได้ทันที
หากพิจารณาจากความหมายของสารสนเทศที่กล่าวมาแล้วนี้ จะเห็นว่าสารสนเทศมีคุณลักษณะที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1. เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว
2. เป็นรูปแบบที่มีประโยชน์ นำไปใช้งานได้
3. มีคุณค่าสำหรับใช้ในการดำเนินงานและการตัดสินใจ
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ ประมวลผล และเผยแพร่สารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีคมนาคม
เทคโนโลยีสารสนเทศ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Information Technology หรือ IT
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
ที่มา :http://web.bsru.ac.th/~direkkung/IT/index_IT_content1.htm
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
การนำเทคโนโลยีสารนิเทศมาใช้กับสังคมสารนิเทศในปัจจุบันก่อให้เกิดการสื่อสารและการใช้ประโยชน์ จากสารนิเทศได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารนิเทศมีดังต่อไปนี้ คือ
1. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยใช้โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์หรือในรูปของ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
2. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ซึ่งผลิตออกมาในแต่ละวัน
3. ช่วยให้เก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก
4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารนิเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ด้วยการช่วยคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ
5. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารนิเทศ
6. สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
7. อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารนิเทศดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ผู้ใช้สารนิเทศมี ทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า
8. ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ
เทคโนโลยีสารนิเทศเบื้องต้นที่ควรนำมาใช้ในการดำเนินงานทั่วๆไป คือ
การใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในการจัดการข้อมูล
ในบรรดาองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารนิเทศทั้งหมด คอมพิวเตอร์ นับว่ามีบทบาทมากที่สุดต่อการเป็น องค์ประกอบที่สำคัญ คอมพิวเตอร์เป็น อุปกรณ์สื่อสารนิเทศที่มีบทบาทอย่างมากต่อสังคมสารนิเทศ คอมพิวเตอร์ เปลี่ยนแปลงสภาพการให้บริการสารนิเทศในห้องสมุดจากการเสียเวลา สืบค้นสารนิเทศหลาย ๆ นาที หรือหลายชั่วโมงมาเป็นเสียเวลา เพียงไม่กี่วินาที คอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคม เป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตที่มีบทบาทยิ่งกว่าเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด ๆ ที่มนุษย์ได้ผลิตขึ้นใช้ในโลกมาก่อน คนในสังคมสมัยสังคมสารนิเทศจะเห็น พัฒนาการด้านนี้ได้อย่างเด่นชัด นับตั้งแต่มีการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ ขึ้นใช้เป็นครั้งแรก คอมพิวเตอร์ไม่ใช่เพียงสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่กลับเป็นสิ่งที่คนในสังคมสารนิเทศ ต้องรู้จักและมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นอุปกรณ์และองค์ประกอบที่สำคัญของเทคโนโลยีสารนิเทศ ที่บรรณารักษ์จะต้องนำมาใช้อยู่ตลอดเวลา เครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนามาโดยลำดับ ตั้งแต่ยุคแรก (พ.ศ. 2487-2501) จนถึงยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา) ได้มีการนำเครื่อง คอมพิวเตอร์มาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เช่น งานจัดการเอกสารข้อมูลแบบ ต่าง ๆ งานระบบสารนิเทศเพื่อการจัดการและงานด้านระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นต้น และจากการแข่งขัน ในการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีราคาถูก และสามารถใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นในสังคมสารนิเทศ ปัจจุบัน
ในสังคมสารนิเทศปัจจุบัน กล่าวได้ว่า คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท ในชีวิตประจำวันของคนในสังคมมากยิ่งขึ้น บทบาทของคอมพิวเตอร์มีมากยิ่งขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการสารนิเทศ และสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการสารนิเทศเพื่อใช้ประโยชน์ กับตนเองก็หลีกเลี่ยงการ ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ด้านอื่น ๆ ไม่ได้
บทบาทของคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการใช้สารนิเทศในสังคมมีดังต่อไปนี้
ด้านการศึกษา
การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการศึกษา แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษา และใช้เป็นเครื่องมือในการสอน การใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาเกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา ซึ่งผู้บริหารการศึกษา จำเป็นต้องทราบสารนิเทศต่าง ๆ ทางด้าน นักศึกษา ด้านแผนการเรียน ด้านบุคลากร ด้านการเงิน และด้านอาคารสถานที่และอุปกรณ์ ข้อมูลแต่ละด้านที่ได้จากคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารการศึกษาสามารถนำมาใช้ช่วย ในการตัดสินใจได้ การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นเครื่องมือในการสอน เป็นการช่วยให้ครูใช้ความรู้ ความสามารถพิเศษให้เป็นประโยชน์แก่ระบบการศึกษาได้มากขึ้น การนำคอมพิวเตอร์เข้า มามีส่วนช่วยในการสอน และการศึกษามีประโยชน์ในเรื่องดังต่อไปนี้ คือ
1. เพื่อการสอนแบบตัวต่อตัว
2. เพื่อฝึกทักษะต่าง ๆ ในการเรียน
3. เพื่อการสาธิต
4. เพื่อการเล่นเกมและสถานการณ์จำลอง
5. เพื่อสอนงานด้านการเขียน
6. เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอน
7. เพื่อช่วยผู้เรียนที่มีปัญหาเฉพาะตัว
ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์กำลังมีบทบาทต่อการศึกษาด้านภาษา เป็นเพราะว่าแต่เดิมมานั้น คอมพิวเตอร์มีบทบาท เฉพาะการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นในประเทศที่ใช้ ภาษาอังกฤษ แต่ในขณะนี้สังคมข่าวสารไม่ ได้สกัดกั้นในการรับรู้สารนิเทศในภาษาอื่น ๆ มีการสร้างโปรแกรม ภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาเลียน รัสเซีย สเปน และแม้แต่ภาษาทางด้านตะวันออก เช่น ภาษาอารบิค จีน ฮิบรู ญี่ปุ่น เกาหลี การสร้างโปรแกรมภาษาต่าง ๆ จัดทำโดยผู้ที่รู้ภาษานั้น ๆ โดยตรง หรือผู้ที่สนใจในการสร้าง โปรแกรมภาษาต่าง ๆ เช่น การสร้างโปรแกรม การใช้ภาษาไทย หรือ ภาษาลาว ตลอดจนการใช้โปรแกรมภาษาพม่า ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นโดย วิศวกรไทย คอมพิวเตอร์จะเป็นตัวกลางในการขจัดปัญหาเรื่องความไม่เข้าใจภาษาระหว่าง ชนชาติในอนาคต ในประเทศสหรัฐอเมริกา คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีบทบาทในด้าน การศึกษา มี การใช้คอมพิวเตอร์ มากขึ้นในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา มีการคาดหมายว่าจะมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในชั้นเรียน จาก 1:40 ในปี พ.ศ. 2529 เป็น 1 ต่อ 20 ภายในปี พ.ศ. 2533 คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร ทางด้านการศึกษาได้ เป็นอย่างดีไม่เฉพาะแต่ภายในสถานศึกษาเท่านั้น บริษัทเอกชนต่าง ๆ สามารถนำคอมพิวเตอร์ มาใช้ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของตน ให้ได้รับการศึกษา หรือฝึกอบรมในงานหน้าที่ได้เป็นอย่าง ดีด้วย การใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษา จะเป็นเรื่องธรรมดาในระบบการศึกษาต่อไป
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
คอมพิวเตอร์มีบทบาทอย่างสูงทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวย ความสะดวก อย่างยิ่งในด้านการแพทย์ เริ่มตั้งแต่การรักษาพยาบาล ทั่ว ๆไป โรงพยาบาลบางแห่งใช้คอมพิวเตอร์ ในการทำทะเบียนคนไข้ ตลอดจนการวินิจฉัย และรักษาโรคต่าง ๆ จากการใช้ประโยชน์ของสารนิเทศที่ได้ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขอาจเกี่ยวข้องในด้านต่อไปนี้คือ ด้านการ รักษาพยาบาลทั่วไป ด้านการบริหารการแพทย์ ด้านห้องทดลอง ด้านตรวจวินิจฉัยโรค และด้านการศึกษา และวิจัยทางการแพทย์ การใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ด้านการแพทย์และ สาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบันคือ ด้านวินิจฉัยโรคและด้านการศึกษาและวิจัยทางการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถค้นคว้าข้อมูลทาง การแพทย์เพิ่มเติมได้ตลอดเวลา เป็นการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และการสาธารณสุข อย่างไม่หยุดยั้ง คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการให้ข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยโรค สำหรับทำการรักษา ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น ในวงการแพทย์เริ่มรู้จักใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ (EMI Scanner) เมื่อปี พ.ศ. 2515 เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจดูเนื้องอก พยาธิ เลือดออกในสมองและความผิดปกติอื่น ๆ ในสมอง ต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่าซีเอที (CAT-Computerized Axial Tomographic Scanner) มีวิธีการฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบ ๆ ร่างกายของมนุษย์ที่ต้องการ ถ่ายเอกซเรย์และเครื่องรับแสงเอ็กซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอกซเรย์ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าไปเก็บไว้ในจาน หรือแถบแม่เหล็ก แล้ว นำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเ ตอร์ ซึ่งเมื่อได้ผลลัพธ์ออกมาก็นำไป เก็บในส่วนความจำ และพิมพ์ภาพออกมาหรือแสดงเป็นภาพทางจอโทรทัศน์ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จึงเป็นตัวอย่าง ของการใช้คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยและรักษาโรค
ด้านอุตสาหกรรม
คอมพิวเตอร์มีส่วนช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์ เพื่อใช้ในบ้านและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ทั้งนี้หุ่นยนต์จะเป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบการทำงานของอวัยวะ ส่วนบนของมนุษย์ ประกอบด้วยระบบทางกลของหุ่นยนต์ และระบบควบคุมหุ่นยนต์ ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม ซึ่งควบคุมการทำงานของ หุ่นยนต์โดยอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์ นับเป็นส่วนสำคัญที่สุดของหุ่นยนต์ ระบบควบคุมนี้ทำหน้า ที่เป็นสมองเก็บข้อมูลสั่งหุ่นยนต์ ให้ทำงานตรวจสอบและควบคุมรายละเอียดของการทำงาน ให้ถูกต้อง การประดิษฐ์หุ่นยนต์อุตสาหกรรมอำนวยประโยชน์ในการช่วยทำงานใน อุตสาหกรรมที่สำคัญคือ งานที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น โรงงานยา ฆ่าแมลง โรงงานสารเคมี ง านที่ต้องการความละเอียด ถูกต้อง และรวดเร็ว เช่น โรงงาน ทำฟันเฟืองนาฬิกา โรงงานทำเลนส์กล้องถ่ายรูป และงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ ซาก ๆ และ น่าเบื่อหน่าย เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ โรงงานประกอบวงจรเบ็ดเสร็จ หรือไอซี และโรงงานทำแบตเตอรี่ เป็นต้น การประดิษฐ์สิ่งของหรือผลิตภัณฑ์บางอย่าง ในโรงงานอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทอย่างสูงต่อการ ควบคุม การผลิตสินค้าโดยไม่ต้องใช้แรงงานคนมาก เป็นการประหยัดแรงงาน นอกจากด้านการผลิตสินค้าแล้ว คอมพิวเตอร์ยังมีส่วนช่วยต่อการจัด ส่งสินค้า ตามใบสั่งสินค้า การควบคุมวัสดุคงคลัง และการคิดราคาต้นทุนสินค้า เป็นต้น
ด้านเกษตรกรรม
การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม ได้แก่ การจัดทำระบบ ข้อมูลเพื่อการเกษตร ซึ่งอาจมีทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ สำหรับระดับ นานาชาตินั้น อาจจะเริ่มด้วย สำมะโนเกษตรนานาชาติ ซึ่งสถาบันการเกษตรระหว่างประ เทศ (International Institute of Agriculture) ได้เริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ. 2473โดยมีประเทศต่าง ๆ ร่วมเก็บข้อมูล รวม 46 ประเทศ ต่อมาองค์การอาหารและเกษตร(FAO) ได้ดำเนินงานต่อในปี พ.ศ. 2493 และมีประเทศต่าง ๆ ร่วมโครงการเพิ่มเติมมากขึ้น ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ข้อมูลเพื่อเกษตรกรรมทางด้านสำมะโนเกษตร นอกจากนี้ยังใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำแบบจำลอง พยากรณ์ความต้องการ พยากรณ์ผลผลิตด้าน การเกษตร เป็นต้น
ด้านการเงินการธนาคาร
การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการเงินและการธนาคาร เป็นการนำคอมพิวเตอร์มา ช่วยในงานด้านการบัญชี และด้านการบริหาร การฝากถอนเงิน การรับจ่าย การโอนเงิน แบบอิเล็กทรอนิกส์ การหักบัญชีอัตโนมัติ ด้านสินเชื่อ ด้านแลกเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าว สารการธนาคาร บริการฝากถอนเงินนอกเวลาและบริการอื่น ๆ การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการเงินการธนาคารที่ประชาชนรู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ บริการฝากถอนเงินนอกเวลา ซึ่งมีใช้กันทั้งในต่างประเทศและในประเทศ ไทย ซึ่งเรียกชื่อว่า บริการเงินด่วน หรือบริการเอทีเอ็ม ( Automatic Teller Machine - ATM ) ที่ธนาคารต่าง ๆ สามารถให้บริการเงินด่วนแก่ลูกค้าได้ ทำให้เกิด ความสะดวกรวดเร็วต่อการใช้เงินในการดำเนินงานทางธุรกิจต่างๆ ได้
ด้านธุรกิจการบิน
ธุรกิจสายการบินมีความจำเป็นต้องนำคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อให้สามารถให้บริการได้รวดเร็ว เพื่อการแข่งขันกับ สายการบินอื่น ๆ และเพื่อรักษาความปลอดภัยในการบินโดยช่วยตรวจสอบสภาพเครื่องและอุปกรณ์ได้ อย่างถูกต้องแน่นอนและสม่ำเสมอ ธุรกิจที่มีการนำ คอมพิวเตอร์มาใช้ด้านการบิน อาจแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ผู้โดยสาร สินค้าพัสดุภัณฑ์ และ บริการอื่น ๆ ของสายการบิน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือระบบบริการผู้โดยสาร อาจจะ เริ่มด้วยระบบบันทึกตารางการบิน ซึ่งบันทึกและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลเที่ยวบิน เส้นทางบิน เวลาออกและเวลาถึง จำนวนที่นั่ง สารนิเทศด้านการบริการผู้โดยสารมีความสำคัญอย่างมาก และจำเป็นต้องได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็ว โดยปราศจากปัญหาทางด้านเวลา และสถานที่ รายการบินต่าง ๆ จึงได้แข่งขันในการสร้างฐานข้อมูล ทางด้านนี้ บางสายการบินได้รวมตัวกัน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการใช้สารนิเทศร่วมกัน
ด้านกฎหมายและการปกครอง
ทางด้านกฎหมายและการปกครอง มีการใช้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหาด้านกฎหมาย คืองานระบบข้อมูล ทางกฎหมายมีการนำสารนิเทศที่เกี่ยวข้องกับตัวบทกฎหมายทุกฉบับ รัฐธรรมนูญทุกฉบับ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวงประกาศต่างๆและอื่น ๆ เข้าคอมพิวเตอร์ทั้งหมด หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์จะ ช่วยในการค้นสารนิเทศทางด้านกฏหมายได้อย่างรวดเร็ว ดังตัวอย่างในประเทศ สหรัฐอเมริกา มีการใช้คอมพิวเตอร์ระบบแอสเปน (Aspen System Corporation) ซึ่งเป็นระบบข้อมูล ทางด้านกฎหมายที่ใช้กันมากกว่า 50 แห่ง นักกฎหมายและผู้ที่เกี่ยวข้องจึงได้ประโยชน์ในการ ค้นสารนิเทศในเวลา อันรวดเร็ว โดยเฉพาะในการค้นข้อมูลเกี่ยวกับคดีต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้น แล้ว เป็นต้น แทนที่จะค้นจากหนังสือ ซึ่งต้องเสียเวลาเป็นอันมาก การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการปกครอง ส่วนใหญ่ใช้ในกิจกรรมการเลือกตั้งดัง เช่นในประเทศไทย เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาล่าสุด มีการใช้คอมพิวเตอร์มาประมวล ผลข้อมูลการเลือกตั้ง ทำให้ประชาชนได้ทราบผลการเลือกตั้งได้อย่างรวดเร็ว
ด้านการทหารและตำรวจ
มีการใช้คอมพิวเตอร์ด้านการทหารและตำรวจ อย่างแพร่หลายในประเทศต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการทหารได้เจริญก้าวหน้าไปมากกว่า ประเทศอื่นใดในโลก แต่ผลงานด้านนี้มักจะเป็น ผลงาน ชนิดลับสุดยอดต่าง ๆ เท่าที่พอจะ ทราบกัน ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ในวงจรสื่อสารทหาร ใช้ในการควบคุม ประสานงาน ด้านการท หารใช้แปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ ใช้ในการผลิตระเบิดนิว เคลียร์ ใช้ในการทำสงครามจิตวิทยา ใช้ในการวิจัยเตรียมทำสงครามเชื้อโรค ใช้ในการสร้างขีปนาวุธ และใช้ในการส่ง ดาวเทียม จารกรรม เป็นต้น กรมตำรวจ กระทรวง มหาดไทย มีศูนย์ประมวลข่าวสารกรมตำรวจ มีคอมพิวเตอร์ ขนาดกลางใช้ทำทะเบียนปืน ทำทะเบียนประวัติอาชญากรรม ทำให้เกิดความสะดวกต่อการสืบสวนคดีต่าง ๆ
ด้านอุตสาหกรรมการพิมพ์และธุรกิจอื่น ๆ
บทบาทของคอมพิวเตอร์ต่อธุรกิจอุตสาหกรรมการพิมพ์ในปัจจุบันมีมาก หน่วยงานทางการพิมพ์ ตลอดจนสำนักข่าวใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดพิมพ์ต้นฉบับ ตรวจแก้ไข จนกระทั่งจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม ทำให้การจัดทำหนังสือพิมพ์ วารสาร และหนังสือต่าง ๆดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว และถึงมือผู้อ่านได้อย่างทันท่วงที อุตสาหกรรมการพิมพ์เป็นธุรกิจที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศต่าง ๆ อยู่ในขณะนี้ และเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศ มีรายงานว่ามีเจ้าหน้าที่คนงานในประเทศ สหรัฐอเมริกากว่า 50 ล้านคน ได้ใช้ประโยชน์จากการใช้คอมพิวเตอร์ ในการดำเนินงาน ทางธุรกิจ มีการใช้อุปกรณ์สื่อสารระบบสำนักงาน อัตโนมัติและเทคโนโลยีโทรคมนาคมอื่น ๆ ร่วมกับคอมพิวเตอร์ทำให้การดำเนินงานทาง ธุรกิจต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ไม่มีปัญหา ทางด้านระยะเวลา และสถานที่ต่อการติดต่อทางธุรกิจอีกต่อไป
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์มีมาก ในสถาบันการศึกษา ตลอดจนสถาบันวิจัยต่าง ๆ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น การวิจัยในทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิชาว่าด้วยส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสาร การค้นคว้าทดลองทางวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างไม่หยุดยั้ง เช่น ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มีการใช้คอมพิวเตอร์ ให้มีส่วนร่วมต่อการออกแบบโครงสร้าง ทางวิศวกรรมที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน ทำให้มีส่วนช่วยต่อการออกแบบ ทางด้านวิศวกรรมและ สถาปัตยกรรมได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด บทบาทของคอมพิวเตอร์ทางด้านวิทยาศาสตร์จึงมี ประโยชน์ต่อการพัฒนาข้อมูลสารนิเทศอย่างไม่หยุดยั้ง
จากการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลสารนิเทศโดยระบบโทรคมนาคมคอมพิวเตอร์ มีบทบาทอย่างสูง ต่อการให้บริการข้อมูลอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ผู้ใช้สารนิเทศสามารถเรียกค้นข้อมูลจากผู้ให้บริการ สารนิเทศตั้งแต่เรื่องทั่ว ๆไปจนกระทั่งขอค้นรายละเอียดจากหนังสือสารานุกรมได้ และภายในบ้านเรือน คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการใช้ของสมาชิกภายในครอบครัวทุกคนภายในบ้าน มีโอกาสได้เล่นเกมวีดิทัศน์ ด้วยความบันเทิงสนุกสนาน และ ศึกษาความรู้จากบทเรียนสำเร็จรูป ไปด้วยในตัว คอมพิวเตอร์สำหรับบ้าน เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็น สำหรับนักธุรกิจในการจัดเตรียมจดหมาย การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลสารนิเทศส่วนบุคคล และ การดำเนินงานกิจการต่าง ๆ ของสมาชิกภายในครอบครัว บทบาทของคอมพิวเตอร์ ยังมีอีกมากมายทางด้านต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้สารนิเทศ ต้องการใช้ในด้านใด คอมพิวเตอร์เมื่อนำมาใช้รวมกับระบบโทรคมนาคมการสื่อสาร สามารถจะเปลี่ยนอนาคตของสังคมปัจจุบัน เปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนต่อการทำ กิจกรรมต่าง ๆ สิ่งที่บรรณารักษ์จะหลีกเลี่ยงต่อไปไม่ได้ คือการนำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูล ภายในห้องสมุดโรงเรียน นับตั้งแต่การนำมาใช้แทน เครื่องพิมพ์ดีดในขอบเขตของงานเอกสาร ตลอดจนกระทั่งถึงงานการให้บริการข้อมูลจากฐานข้อมูลสำเร็จรูป หรือ งานฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นเอง
ข้อมูลและสารสนเทศนับว่ามีประโยชน์ต่อการนำไปใช้บริหารงานด้านต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น
1. ด้านการวางแผน สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนเกี่ยวกับการจัดการองค์การ การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ กระบวนการผลิตสินค้า การตลาด เป็นต้น
2. ด้านการตัดสินใจ สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อเลือกแนวทางหรือทางเลือกที่มีปัญหาน้อยที่สุดในการแก้ปัญหาต่าง ๆ การมีสารสนเทศที่สมบูรณ์ ทันสมัย และครบถ้วนจะช่วยให้การตัดสินใจถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. ด้านการดำเนินงาน สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ เช่น ใช้เพื่อควบคุมหรือติดตามผลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ
ที่มา : http://www.spo.moph.go.th/web/dict/userfiles/file/sara/is.doc
คำถาม
1.ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ จะต้องทำความเข้าใจกับคำใดบ้าง
2.เทคโนโลยีและสารสนเทศมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
3.ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง และในด้านใด
4.การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการศึกษา แบ่งได้เป็นกี่ประเภท และมีอะไรบ้าง
วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
เทคโนโลยีทางการศึกษา
ความหมายของเทคโนโลยี
ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า "วิทยาศาสตร์ประยุกต์" หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "เทคโนโลยี" (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)
สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น (boonpan edt01.htm)
ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน (boonpan edt01.htm)
Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ (boonpan edt01.htm)
ที่มา http://shcool.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm
ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า "วิทยาศาสตร์ประยุกต์" หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "เทคโนโลยี" (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)
สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น (boonpan edt01.htm)
ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน (boonpan edt01.htm)
Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ (boonpan edt01.htm)
ที่มา http://shcool.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm
นวัตกรรมการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรม
“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)
"นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)
“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
ที่มา http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm
“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
“นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย “นวัตกรรม” ไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)
"นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)
“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
ที่มา http://school.obec.go.th/sup_br3/t_1.htm
วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
พระจำวันคนเกิดวันอาทิตย์
ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์
พระประจำวันนี้คือ พระปางถวายเนตร
ลักษณะพระพุทธรูป:
พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในพระอริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองข้างเพ่งไปข้างหน้าทอดพระเนตรด
ต้นศรีโพธิ์พฤกษ์ พระหัตถ์ทั้งสองลงมาประสานกันอยู่ข้างหน้าระหว่างพระเพลา พระหัตถ์ขาว
ทับพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในอาการสังวร.
ประวัติย่อ.เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้วจึงประทับยับยั้งเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ร่มโพธิ์เป็น
เวลา๗ วันจากนั้นจึงเสด็จออกไปจากภายใต้ร่มโพธิ์ไปประทับยืนอยู่ทางทิศตะวันออก
เฉียงเหนือ(อีสาน)ทอดพระเนตรต้นศรีมหาโพธิ์ โดยไม่กระพริบพระเนตรเป็นเวลา๗วันเพื่อรำ
ลึกถึงคุณประโยชน์ของต้นมหาโพธิ์ที่แผ่กิ่งก้านประทานร่มเงาให้ความชุ่มเย็นเป็นการ
อำนวยช่วยพระองค์จนได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
คำทำนายคนเกิดวันอาทิตย์:
ผู้ใดเกิดวันอาทิตย์ผู้นั้นใจจิตจะพลันมักง่ายทําการเสมอตัว ดีชั่วใดๆทําคุณแก่ใครเหมือน
ไฟตกน้ำ จะมีผู้ใหญ่เป็นผู้อุปถัมภ์ เจรจาล้ำเลิศไม่มีความผิด น้ำใจซื่อตรง คงสัตย์ต่อมิตร
รักง่ายใจจิต ไม่คิดเสียดาย ถ้อยความมาต้อง ถึงสองสามราย รายแล้วกลับกลายเป็นดี
ภายหลัง เมื่อน้อยไร้ทรัพย เมื่อเติบโตกลับมั่งคั่งบริบูรณ์ พร้อมพรั่งมีมาก แต่จากที่อยู่จิตใจ
นั้นใหญ่ จะมีความรู้เป็นที่สําคัญ.
บางตำราว่า..ทําชอบได้ผิด ดังไฟตกน้ำดับหาย มักง่ายอาภัพจนตาย มีพงษ์วงศ์ร้าย
มักให้เสื่อมสูญรัศมี ชื่อต่างเพิ่มพูน ความคิดเสียสูญ มักผิดด้วยเขาหลายครา จะจากที่
อยู่สามท่าจึงได้สุขา ธาตุ หินนามครุฑโดยนัย
ของทำบุญประจำวันเกิด(ตักบาตรพระ):
อาหารคาว ประเภทไข่ ดาว เจียว ผัด ลูกเขย ลููกสะใภ้ ต้มแกงกะทิฯ
อาหารหวาน ไข่หวาน มะพร้าวอ่อน มะพร้าวแก้ว ขนมใส่กะทิ น้ํากระเจี๊ยบน้ํามะพร้าวน้ําขิงเงาะ
ของถวายพระ หลอดไฟ ไฟฉาย เทียน ธูป อุปกรณ์แสงสว่าง แว่นตา หมากพลู
ไหว้พระปางถวายเนตร (พระประจําวันเกิด) กําลังวันเท่ากับ๖ (สวดแบบย่อ อะ-วิช-สุนุส-สา-นุต-ติ) เติมน้ํามันตะเกียงตามวัด
ทําทาน กับคนตาบอด โรงพยาบาลโรคตา มูลนิธิคนตาบอด โรงพยาบาล โรคหัวใจ มูลนิธิโรคหัวใจ
พฤติกรรม ออกรับแสงอาทิตย์อ่อน ๆ ช่วงเช้าหรือเย็นๆ เพื่อให้เกิดพลังอย่าใจร้อน เลิกทิฐิทําตัวเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
บทสวดมนต์ประจำวันเกิด:
อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหะมะณา เวทะคุ
สัพพะธัมเม เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง
นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสนา ฯ
(ใช้ภาวนาวันละ ๖จบ ป้องกันตัวจะได้มีความสุขความเจริญปราศจากภัยอันตรายต่างๆถ้ามีพระพุทธรูปปางถวายเนตรไว้สักการะเป็นการดีแลฯ)
พระจำวันคนเกิดวันเสาร์
ผู้ที่เกิดวันเสาร์
พระประจำวันนี้คือ พระปางนาคปรก
ลักษณะพระพุทธรูป:
พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบทรงหงายพระหัตถ์ทั้งสองแบวางซ้อนกันบนพระเพลา
พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้าย มีพญานาคแผ่พังพานปกคลุมเบื้องพระเศียร
ประวัติย่อ
ครั้นพระพุทธองค์เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข ณร่มไม้อชปาลนิโครธสิ้น๗ วัน แล้วพระองค์ก็เสด็จ
ไปประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขยังร่มไม้จิก อันมีชื่อว่ามุจจลินท์ ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศอาคเนย์ของต้นพระศรีมหา
โพธิ์ วันนั้นเกิดฝนตกพรำอยู่ไม่ขาดสายตลอด ๗ วัน พญานาคมุจจลินท์ ผู้เป็นราชาแห่งนาคได้ออก
จากนาคพิภพ ทำขนดล้อมพระวรกาย ๗ ชั้น แล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเบื้องบนเหมือนกั้นเศวตฉัตร
ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยความประสงค์มิให้ฝนและลมหนาวสาดต้องพระวรกาย ทั้งป้องกันเหลือบ ยุง
บุ้ง ร่าน ริ้น และสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวลด้วย ครั้งฝนหายแล้ว พญามุจจลินท์นาคราชจึงคลายขนดจากที่
ล้อมพระวรกาย พระพุทธเจ้า จำแลงเพศเป็นมาณพน้อยยืนทำอัญชลีถวายนมัสการพระพุทธองค์ในที่เฉพาะ
พระพักตร์ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานว่า สุโข วิเวโก ตุฏฺฐัสสะ สุตะธัมมัสสะ ปัสสะโต
อัพยาปัชชัง สุขัง โลเก ปาณะภูเตสู สัญญะโม สุขา วิราคะตา โลเก กามานัง สะมะติกฺกะโม อัสมิมานัสสะ
วินะโย เอตัง เว ปะระมัง สุขัง ฯ ความว่า ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว รู้เห็นสังขาร
ทั้งปวงตามเป็นจริงอย่างไร ความเป็นคนไม่เบียดเบียนคือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นคน
ปราศจากความกำหนัด คือความก้าวล่วงกามทั้งปวงเสียได้ เป็นสุขในโลกความนำออกเสียซึ่งอัสมินมานะ
คือความถือตัวตนให้หมดได้นี้เป็นสุขอย่างยิ่ง พระพุทธจริยาที่เสด็จประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ภายในวงขนด
ของพญานาคมุจจลินท์นาคราชที่ขดแวดล้อมพระกายอยู่นี้ เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้นมา เรียกว่า
ปางนาคปรก เรื่องพระปางนาคปรกนี้ นิยมสร้างเป็นพระนั่งบนขนดตัวพญานาคเหมือนเอานาคเป็นบัลลังก์
ดูสง่าองอาจเป็นพระเกียรติอำนาจของพระองค์อย่างหนึ่ง ได้ลักษณะเป็นอย่างพระเจ้าของพราหมณ์
ถ้าจะรักษาลักษณะของพระพุทธรูปตามประวัติก็จะเป็นไปอีกในลักษณะหนึ่งคือ พระพุทธรูปจะมีพญานาค
พันรอบพระวรกายด้วยขนดตัวพญานาคถึง ๔-๕ ชิ้น จนบังพระวรกายมิดชิด เพื่อป้องกันฝนและลม
จะเห็นได้ก็เพียงพระเศียร พระศอ และพระอังสาเป็นอย่างมากทั้งเบื้องบนก็มีหัวพญานาคแผ่พังพาน
ปกคลุมอีกด้วย.
คำทำนายคนเกิดวันเสาร์:
ผู้ใดเกิดวันเสาร์เพื่อนฝูงพงศ์เผ่ามักให้อันตราย น้ำใจห้าวหาญ เพื่อนฝูงมากมาย พี่น้องสืบสาย มักผิดใจกัน น้ำใจจองหอง โมโหหุนหัน ทุบถองตีรัน
ชอบใจทุกสิ่ง เบ็ดเตร็ดเสเพล นักเลงผู้หญิง นักเลงทุกสิ่ง ชอบใจคนพาล ทำการสิ่งใด ให้เกียจให้คร้าน พี่น้องวงศ์วาน เขาไม่ดูดี
คบเพื่อนสูงศักดิ์รักกัน เต็มที่ มิได้หน่ายหนี มักแพ้ลูกเมีย ผู้คนทั้งหลาย
บางตำราว่า..ผู้เกิดวัน ๗ คือวันเสาร์ เสาร์เป็นบริวาร มีลูกมีข้าไท ว่าสอนยาก ๕ พฤหัสบดีเป็นอายุ มีอายุยืน ๘ ราหูเป็นเดช มีเดชดังราห์
๖ ศุกร์เป็นศรีมีทรัพย์มาก ๑ อาทิตย์เป็นมูลละมีสุขภาพและนรลักษณ์ดีจันทร์เป็นอุตสาหะ ทำการงานไม่สู้ดี ๓ อังคารเป็นมนตรี ร้ายนักมิซื่อตรงคิด
จะทำร้ายเขา ๔ พุธเป็นกาลกิณี ร้ายนัก ไม่ซื่อตรงต่อผู้ใดเลย
ของทำบุญประจำวันเกิด(ตักบาตรพระ):
อาหารคาว ประเภทของขม ของดำมะระยัดไส้ สะเดาน้ำปลาหวาน น้ำพริกปลาทู มะเขือยาว
อาหารหวาน ลูกตาลเชื่อม กาแฟ โอเลี้ยง
ของถวายพระ ร่มสีดำ กระเบื้องมุงหลังคา ไม้กวาด สร้างห้องน้ำถวายวัด
ไหว้พระปางนาคปรก (พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 10 (สวดแบบย่อ โส มา ณะ กะ ระ ถา โธ)
ทำทาน โรงพยาบาลโรคจิต โรงพยาบาลโรคประสาท
พฤติกรรม กวาดลานวัด ล้างห้องน้ำวัด ไม่เครียด มองโลกในแง่ดี ขยะในบ้านยกทิ้งทุกวัน อย่าหมักหมม
บทสวดมนต์ประจำวันเกิด:
ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา เตน สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ คัพภัสสะ ฯ
(เป็นคาถาสำหรับผู้ที่เกิดวันเสาร์ใช้ภาวนาเป็นประจำ วันละ ๑๐ จบจะได้มีความวัฒนาถาวรด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละต่อไป พระพุทธรูปที่ท่าน
ควรมีไว้ประจำตัวและสักการะ คือ พระพุทธรูปปางนาคปรก).
ที่มา :คณะสงฆ์นาราชควาย
พระจำวันคนเกิดวันศุกร์
ผู้ที่เกิดวันศุกร์
พระประจำวันนี้คือ พระปางลำพึง
ลักษณะพระพุทธรูป:
พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประสานยกขึ้นประทับที่พระอุระ พระหัตถ์ขวา
ทับพระหัตถ์ซ้าย พระบาททั้งสองประทับยืนชิดติดกัน
ประวัติย่อ
เมื่อตปุสสะและภัลลิกะ ๒พาณิชกราบทูลลาไปแล้วพระพุทธองค์เสด็จกลับจากร่มไม้ราชายตนะไป
ประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ร่มไม้อชลปาลนิโครธอีกครั้งหนึ่ง และทรงรำพึงถึงธรรม ที่พระองค์ได้
ตรัสรู้แล้วนั้นว่าเป็นธรรมประณีตละเอียดสุขุมคัมภีรภาพ ยากที่บุคคลจะรู้ได้ทำให้ท้อแท้พระทัยถึงกับ
ทรงดำริจะไม่แสดงธรรมแก่มหาชน ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบวาระจิตของพระพุทธองค์
จึงร้องประกาศชวนเทพยดาทั้งหลายพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ยังที่ประทับ ฯ ควงไม้อชปาลนิโครธ
ถวายอภิวาทแล้วกราบ ทูลอาราธนาพระพุทธองค์ ขอให้ทรงแสดงธรรมโปรดประชาชน
เพื่อบุคคลผู้มีธุลีในนัยน์ตาน้อยทั้งมีอุปนิสสัยอันจะเป็นพุทธสาวกจะได้ตรัสรู้ธรรมบ้าง พระพุทธองค์
ทรงรำพึงถึงธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อนว่าได้ตรัสรู้แล้วย่อมทรงแสดงธรรม
โปรดประชาชนทั้งหลายประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้แผ่ไพศาลเพื่อประโยชน์สุขแก่ปัจฉิมชนผู้เกิด
มาภายหลัง แล้วจึงเสด็จปรินิพพาน จึงได้น้อมพระทัยไปในอันแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ในโลกแล้ว
พระพุทธองค์ ทรงพิจารณาอีกว่า จะมีผู้รู้ถึงธรรมนั้นบ้างหรือไม่ ก็ทรงทราบถึงอุปนิสัยของบุคคล
ทั้งหลายในโลกนี้ย่อมมีต่างๆ กัน คือ ทั้งประณีต ปานกลางและหยาบ ที่มีนิสัยดีมีกิเลสน้อยเบาบาง
มีบารมีที่ดีสั่งสมอบรมมาแล้ว ซึ่งพอจะตรัสรู้ธรรมตามพระองค์ได้ก็มีอยู่ ผู้มีอินทรีย์ ศรัทธา วิริยะ สติ
สมาธิปัญญากล้าก็มี ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มีเป็นผู้จะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่ายก็มี เป็นผู้จะพึงสอนให้รู้ได้โดย
ยากก็มีเป็นผู้สามารถจะรู้ได้ก็มีเป็นผู้ไม่สามารถจะรู้ได้ก็มี
บุคคลจึงเปรียบเหมือนดอกบัวที่เกิดในน้ำเจริญในน้ำ น้ำเลี้ยงอุปถัมภ์ไว้ บางเหล่ายังจมอยู่ในน้ำ
บางเหล่าอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าขึ้นพ้นน้ำแล้วในดอกบัว๓ เหล่านั้น ดอกบัวที่ขึ้นพ้นน้ำแล้วนั้นคอย
สัมผัสรัศมีพระอาทิตย์อยู่จักบาน ณเช้าวันนี้ ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำจักบาน ณวันพรุ่งนี้ ดอกบัวที่ยัง
ไม่ขึ้นจากน้ำยังอยู่ภายในน้ำ จักบานในวันต่อ ๆไป ดอกบัวที่จะบานมีต่างชนิดฉันใด เวนัยสัตว์
ที่จะตรัสรู้ธรรมก็มีต่างกัน ฉันนั้นเหมือนกัน คือ ผู้มีกิเลสน้อยเบาบาง มีอินทรีย์แก่กล้าเป็นผู้ที่พึงสอน
ให้รู้ได้โดยง่าย และอาจจะรู้ธรรมพิเศษนั้นได้โดยฉับพลัน ผู้มีคุณสมบัติเช่นนั้นเป็นประมาณปานกลาง
เมื่อได้รับอบรมในปฏิปทาอันเป็นบุพพาค จนมีอุปนิสสัยแก่กล้าดังกล่าว แต่ยังอ่อน ก็ยังควรได้รับการ
แนะนำในธรรมเบื้องต่ำต่อไปก่อนเพื่อบำรุงอุปนิสัย เมื่อเป็นเช่นนี้พระธรรมเทศนาของพระองค์คงไม่ไร้
ผล จักยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่คน ทุกหมู่เหล่า เว้นแต่จำพวกปทปรมะ ซึ่งมิใช่เวไนย คือ
ไม่รับการแนะนำ ซึ่งเปรียบด้วยดอกบัวอ่อน อันจะเป็นภักษาหารของปลาและเต่าต่อไป ครั้นพระพุทธ
องค์ทรงพิจารณาด้วยพระปรีชาญาณหยั่งทราบเวไนยสัตว์ผู้จะรับประโยชน์จากพระธรรมเทศนาแล้ว
ก็ทรงอธิษฐานพระหฤทัยในอันจะแสดงธรรมสั่งสอนไวไนยสัตว์ และตั้งพุทธปณิธานจะใคร่ดำรง
พระชนม์อยู่จนกว่าจะได้ประกาศพระพุทธศาสนา ให้แพร่หลายประดิษฐานให้มั่นคงสำเร็จประโยชน์แก่
ชนนิกรทุกหมู่เหล่าต่อไป พระพุทธจริยาที่ทรงรำพึงถึงธรรมที่จะแสดงโปรดชนนิกรผู้เป็นเวไนยบุคคล
นั้นแล เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปที่เรียกว่า ปางรำพึง.
ของทำบุญประจำวันเกิด(ตักบาตรพระ):
อาหารคาว ประเภทของหอม หวาน ข้าวหอมมะลิ ผักกาดหอม ไข่เจียวหอมใหญ่ ยำหัวหอม
อาหารหวาน ขนมหวาน หอมทุกชนิด น้ำเก๊กฮวย ผลไม้ที่มีกลิ่นหอม กล้วยหอม เค้ก
ของถวายพระ นาฬิกา โต๊ะรับแขก ดอกไม้สวยหอม ระฆัง ย่าม
ไหว้พระปางรำพึง (พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 21 (สวดแบบย่อ วา โธ โน อะ มะ มะ วา)
ทำทาน เด็กด้อยโอกาส ให้เงิน ให้เสื้อผ้า อาหารที่หอมหวานชวนกิน เช่น ไอศกรีม
พฤติกรรม ทำตัวให้สดชื่นแจ่มใส บำรุง ดูแลตัวเองให้ดูดีอยู่ตลอด จัดสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ สวยงาม เลิกการฟุ่มเฟือย
บทสวดมนต์ประจำวันเกิด:
อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุ สัมมะเต อะมะนุสเนหิ จัณเฑหิ สะทา กิพพิ สะการิภิ
ปะริสานัญจะ ตัสสันนัง มะหิงสายะ จะ คุตติยา ยันเทเสหิ มะหาวีโร ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
(เป็นคาถาสำหรับผู้ที่เกิดวันศุกร์ใช้สวดภาวนาวันละ ๒๑ จบ จะมีความสุขสำราญเนืองนิตย์ และป้องกันยักษ์ผีปีศาจต่างๆพระพุทธรูปท่านควรมีไว้
ประจำตัวคือ พระพุทธรูปปางรำพึง ไว้สักการะบูชาในบ้านเป็นสิริมงคลดียิ่งแลฯ
พระจำวันคนเกิดวันพฤหัสบดี
ผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี
พระประจำวันนี้คือ พระปางสมาธิ
ลักษณะพระพุทธรูป:
พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทั้งสองหงายวางซ้อนกัน
บนพระเพลา คือพระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระชงฆ์ขาวทับพระชงฆ์ซ้าย
ประวัติย่อ.เมื่อพระมหาบุรุษบรมโพธิสัตว์ ทรงกำจัดพญามาร และเสนามารให้ปราชัยด้วย
พระบารมี ตั้งแต่เวลาสายัณห์มิทันพระอาทิตย์จะอัสดง ก็ทรงเบิกบานพระทัยได้ปีติเป็นกำลัง
ภายในสนับสนุนเพิ่มพูนแรงปฎิบัติภาวนาให้ยิ่งขึ้น ดังนั้นพระองค์จึงมิได้ทรงพักให้เสียเวลาทรง
เจริญสมาธิภาวนาทำจิตใจให้ปราศ จากอุปกิเลสจนจิตสุขุมเข้าโดยลำดับ ไม่ช้าก็ได้บรรลุ
ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน อันเป็นส่วนรูปสมบัติตามลำดับ
ต่อจากนั้น ก็ทรงเจริญญานอันเป็นองค์ปัญญาชั้นสูง ๓ประการยังองค์พระโพธิญาณให้เกิดขึ้น
เป็นลำดับ ตามลำดับแห่งยามสามอันเป็นส่วนราตรีนั้นคือ
ในปฐมยามทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามารถระลึกอดีตชาติที่พระองค์ ทรงบังเกิด
มาแล้วทั้งสิ้นได้ในมัชฌิมยามทรงบรรลุจตูปปาตญาณหรือทิพจักขุญาณสามารถหยั่งรู้การเกิด
การตาย ตลอดจนการจุติและปฎิสนธิของสัตว์ทั้งหลายได้หมด
ในปัจฌิมยาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ ทรงพระปรีชาสามารถทำอาสวะกิเลส ทั้งหลายให้หมดสิ้น
ไป ด้วยปัญญาพิจารณาในปัจจยาการแห่งปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมและปฏิโลมทั้งฝ่ายเกิด
และฝ่ายดับ สาวไปข้างหน้าและสาวกลับไปมาแล้ว ทรงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณตรัสรู้เป็น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลาปัจจุสสมัยรุ่งอรุโณทัยทรงเบิกบานพระหฤทัยอย่างสูงสุดในการตรัสรู้
อย่างไม่เคยมีมาก่อนถึงกับทรงเปล่งอุทานเย้ยตัณหา อันเป็นตัวการก่อให้เกิดสงสารวัฏฏทุกข์แก่
พระองค์หลายเอนกชาติว่า
"นับแต่ตถาคตท่องเที่ยวสืบเสาะหานายช่างเรือนคือตัณหาตลอดชาติอัน จะนับประมาณมิได้ ก็มิได้พบท่านเลยนับแต่นี้ไปท่านจะทำเรือนให้ตถาคตไม่ได้อีกแล้วกลอนเรือน เราก็ได้รื้อเสียแล้ว
ช่อฟ้าเราก็ทำลายแล้วจิตของเราปราศจากสังขารเครื่องปรุงแต่งมีกิเลสไปปราศแล้วเราถึงความดับ
สิ้นไปแห่งตัณหาแล้ว"ในขณะนั้นมหาอัศจรรย์ก็บังเกิดมีขึ้น กล่าวคือ พื้นมหาปฐพีอันกว้างใหญ่ก็
หวั่นไหวพฤกษาชาติทั้งหลายก็ผลิตดอกออกช่องามตระการตาเทพเจ้าทุกข์ชั้นฟ้าก็แซ่ซ้องสาธุการ
โปรยปรายบุปผามาลัยทำสักการะบูชาเปล่งวาจาว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก
ด้วยปีติยินดีเป็นเหตุอัศจรรย์ที่ไม่เคยมีมาก่อนเรื่องนี้จึงเป็นมูลเหตุให้มีการสร้างพระพุทธรูปปางตรัสรู้
เพื่อเป็นพุทธานุสสติ ฉะนี้แล.
คำทำนายคนเกิดวันพฤหัสบดี:
ผู้ใดเกิดวันพฤหัสบดีอาจารย์บัญญัติว่ารูปงามใจดี แต่ว่าอาภัพ เกิดกับที่นี่ต้องย้ายจากที่ไปอยู่แห่งอื่น เมื่อน้อยไร้ทรัพย์ ใหญ่กลับคงคืน เจรจายั่งยืน
คนมักพอใจ ครองทรัพย์คงที่ ไม่มีโภยภัย คนที่อาศัย มักชอบใจตน ทำการใจเย็น ไม่เห็นร้อนรน แต่ทำคุณคน ไม่เป็นประโยชน์ ทำคุณแก่เขา
เขากลับให้โทษ ไม่เป็นประโยชน์ จำไว้อย่าคลา มากชู้หลายเมีย ได้เสียไม่ว่ามักได้ทุกขา เพราะเพื่อนฝูงตน ครองศีลครองศักดิ์ เพื่อนฝูงที่รัก
พร้อมพรักเป็นสุข
บางตำราว่า..ผู้ใดเกิดวัน ๕ คือวันพฤหัสบดี พฤหัสบดีเป็นบริวาร ย่อมประกอบด้วยวิชาการงานทุกสิ่งอัน ๘ ราหูเป็นอายุว่าผู้นั้นมีอายุน้อย
มักเกิดพยาธิโรคามาก ๖ ศุกร์เป็นเดชมีเดชดี ๑ อาทิตย์เป็นศรี มีทรัพย์ไม่มาก ๒ จันทร์เป็นมูลละ มีลูกเมียมากแต่มิสู้ยั่งยืน ๓ อังคารเป็นอุตสาหะ
ผู้นั้นมัก ฉลาด ๔ พุธเป็นมนตรี มีเมียไม่ซื่อตรง ทำตัวมีใจออกห่าง ๗ เสาร์เป็นกาลกิณีร้ายนัก ทำคุณคนมักกลับให้โทษ
ของทำบุญประจำวันเกิด(ตักบาตรพระ):
อาหารคาว ประเภทเถา แกงเลียง บวบผัดไข่ น้ำเต้า
อาหารหวาน แตงโม แตงไทย น้ำสมุนไพร ส้ม สาลี่ น้ำมะตูม น้ำว่านหางจระเข้
ของถวายพระ สบง จีวร หนังสือธรรมะ ตู้ยา โต๊ะหมู่บูชา
ไหว้พระปางสมาธิ (พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 19 (สวดแบบย่อ ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ)
ทำทาน โรงพยาบาลสงฆ์ บริจาคข้าวสาร เสื้อผ้า ผ้าห่มกันหนาว
พฤติกรรม นั่งสมาธิ สวดมนต์ ถือศีล5 อย่าซื่อจนเกินไป
บทสวดมนต์ประจำวันเกิด:
ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง วัฏฏะชาติยัง ยัสสะ เตเชนะ ทาวัคคิ
มหาสัตตัง วิวัชชะยิ เถรัสสะ สารีปุตตัสสะ โลกะนาเถนะ ภาสิตัง กัปปัฏฐายิ มหาเตชัง ปะริตตันตังภะณามะ เห.
(เป็นคาถาสำหรับผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดีใช้สวดภาวนาวันละ ๑๙จบจะเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆขึ้น พระพุทธรูปที่ท่านควรมีไว้ประจำตัวคือ พระพุทธรูปปางสมาธิ
หรือปางตรัสรู้ เพื่อทำสักการะบูชาหรือนำติดตัวไปไหนๆได้สะดวกแลฯ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)